บริษัท เอ็นดีที (ประเทศไทย) จำกัด ตัวแทนจำหน่ายเครื่องปั่นไฟ ปั้มลม เครื่องเชื่อ DENYO ของไทยและลาว สอบถาม 061-4194021 ไปป์NDTTครับ

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิธีเลือกซื้อเครื่องปั่นไฟ / สำหรับมือใหม่

วิธีเลือกซื้อเครื่องปั่นไฟ / สำหรับมือใหม่


เครื่องกำเนิดไฟฟ้า", "เครื่องปั่นไฟ" หรือ "ไดปั่นไฟ" นั้น ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากต่อภาคการเกษตร และภาคส่วนงานการก่อสร้างต่างๆ
นอกจากนี้แล้ว สำหรับผู้อยู่อาศัยในเขตรอบนอกกรุงเทพฯ ปริมณฑล หรือจังหวัดต่างๆ ที่ประสบปัญหา "ไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง" ก็สามารถนำไดปั่นไฟไปใช้เป็นแหล่งให้พลังงานไฟฟ้าสำรองได้อีกด้วย
จากประโยชน์กว้างขวางทั้งในระดับอุตสาหกรรมและครัวเรือนตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้ผลิตจึงได้แบ่งขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ ไดปั่นไฟ (ภาษาช่างนิยมเรียก "ไดไฟ") ออกเป็น
  • ขนาดเล็ก / กลาง – ใช้ในแหล่งเพาะปลูก ใช้ในระดับครัวเรือน เป็นแหล่งพลังงานสำรอง ใช้ในไซต์ก่อสร้าง ใช้ในงานเชื่อมโลหะ ฯลฯ เป็นต้น (ขนาดเล็ก ประมาณ 1-20 KVA, ขนาดกลาง ประมาณ 20-50 KVA)
     
  • ขนาดใหญ่ – ใช้ในระดับอุตสาหกรรม โรงแรม โรงงาน ฯลฯ (ประมาณ 50-100KVA ขึ้นไป)
     
  • นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบันยังมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดพิเศษ ที่สามารถเชื่อมโลหะ ทั้งยังผลิตกระเเสไฟได้อีกด้วย (ภาษาช่างนิยมเรียก "ไดอ๊อกซ์")
  • สิ่งที่ต้องรู้ก่อนซื้อไดปั่นไฟ / เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
    - งบประมาณของท่าน
    - ประเภทของการใช้งาน เช่น ใช้สำรองไฟเวลาเกิดไฟฟ้าดับ หรือ ใช้ต่ออุปกรณ์เพื่อทำงานกลางเเจ้ง เป็นต้น
    - สิ่งเเวดล้อมที่จะนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปใช้ 
    - ระยะเวลาในการใช้งานแต่ละครั้ง (เช่น ถ้าจะนำไปใช้เป็นแหล่งสำรองไฟดับ และบริเวณนั้นไฟดับไม่กี่ครั้งต่อปี แนะนำให้ใช้เครื่องยนต์แบบมือฉุด เพราะเครื่องยนต์แบบกุญแจหรือการติดตั้งแผงควบคุมอัตโนมัตินั้น เมื่อไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์อาจเสื่อมได้เพราะไม่มีไฟฟ้าไปเลี้ยงวงจรเป็นเวลานานๆ)
    - จำนวน และประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ (บางทีเรียก "โหลด") ที่จะนำมาต่อกับไดปั่นไฟ 
    *ข้อสังเกต: สำหรับการใช้เพื่อสำรองไฟ ควรพิจารณาเป็นกรณี ไม่ใช่นำเอาค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ทุกชนิดมารวมกัน เพราะในชีวิตประจำวัน เราไม่ได้เปิดเครื่องใช้ทุกชนิดที่มีอยู่ในบ้านในเวลาเดียวกัน!!! 
    โดยจำเเนกประเภทโหลดได้เป็น 2 ประเภท** กว้างๆ ดังนี้
    • โหลดขนาดเล็ก (ไม่มีมอเตอร์ หรือมีมอร์เตอร์ขนาดเล็กกินไฟไม่มาก ใช้งานไม่หนัก) ได้แก่ หลอดไฟ พัดลม ฯลฯ
       
    • โหลดที่มีมอร์เตอร์ กินไฟมาก หรือต้องถูกใช้งานหนัก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ปั๊มลม ปั๊มน้ำ อุปกรณ์เครื่องมือช่างขนาดกลาง-ใหญ่ ฯลฯ
    ** Note: ตรงนี้สำคัญมากนะครับ ^^ เพราะอุปกรณ์ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีช่วงไฟกระเพื่อมตอนแรกเริ่ม หรือที่วิศวกรเรียกกันว่า "กระแสโชค" (Choke) ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่จะนำไปใช้งานต้องมี Safety Factor* เผื่อไว้ 3-4 เท่า มิฉะนั้น เวลาใช้งานจริงเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นๆ จะไม่สามารถผลิตกระเเสไฟฟ้าเพียงพอในระยะเเรกได้ เป็นผลให้อุปกรณ์นั้นๆ ไม่สามารเริ่มทำงานได้   

    ตารางแสดงค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์กินซึ่งไฟมากขณะเปิดเครื่องเป็นองค์ประกอบ

    ชนิดของอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังไฟฟ้าโดยประมาณ
    หน่วยเป็น วัตต์ (Watt)
    Y = มีมอเตอร์ที่กินไฟ
    มากเป็นองค์ประกอบ
    หลอดไฟกลม60
    หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์36
    พัดลมตั้งพื้น 16''74
    วิทยุ25
    เครื่องเสียง/สเตอริโอ (Stereo)3500
    โทรทัศน์ 29''145
    เครื่องเล่น VCD25
    ตู้เย็น 6 คิว128Y
    เครื่องทำน้ำร้อน3500
    หม้อหุงข้าว720
    เตาอบไมโครเวฟ1150
    กระติกน้ำร้อน670
    เครื่องปิ้งขนมปัง750
    ไดร์เป่าผม1000
    เครื่องดูดฝุ่น 30 ลิตร1400Y
    เครื่องซักผ้า450Y
    เครื่องปรับอากาศ 9000 BTU2600Y
    เครื่องปรับอากาศ 12000 BTU3800Y
    เครื่องปรับอากาศ 18000 BTU5100Y
    เครื่องปรับอากาศ 22000 BTU6600Y

    โดยคิดคำนวณได้จาก
    1) การนำค่าไฟฟ้า (วัตต์) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่ต้องการใช้งานในขณะนั้นมารวมกัน โดยที่
    1.1) ถ้าไม่มีมอเตอร์กินไฟมากเป็นองค์ประกอบ –> รวมได้เลย (หรือเพื่อความปลอดภัยอาจเผื่อค่ากระแสที่สูญเสีย/ตกคร่อมไปกับสายไฟไว้ 20-30%)
    1.2) ถ้ามีมอเตอร์กินไฟมากเป็นองค์ประกอบ –> ต้องนำค่าไฟฟ้ามาคูณ 3 เท่า (เผื่อค่ากระแสกระเพื่อนขณะเริ่มเดินเครื่อง) 
    2) นำผลรวมใน ข้อ (1) มาแปลงให้เป็น KVA ด้วยการหารด้วย 800 (เนื่องมาจาก 1 KVA = 800 Watt)
    3) จะได้ผลลัพธ์เป็น ค่า KVA ของเครื่องปั่นไฟที่เหมาะสมกับการใช้งานสำรองไฟของท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular

Recent

Comments